วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ดาวเรืองบานสะพรั่งทั่วเมืองไทย



     ดาวเรือง เป็นดอกไม้ที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี นิยมปลูกทุกพื้นที่ทั่วๆ ไป เนื่องจากมีรูปทรงและสีสันสวยงาม มีความคงทน ดอกบานสามารถอยู่ได้หลายวัน นิยมนำมาร้อยเป็นพวงมาลัย บูชาพระหรือจัดใส่กระถางเพื่อประดับตามงานต่างๆ เพิ่มความสวยงาม มีชื่อภาษาท้องถิ่นทางภาคเหนือว่า “ดอกคำปู้จู้” ซึ่งหมายถึงดอกไม้ที่มีกลีบสีเหลืองคล้ายทองคำ


ดอกดาวเรือง ภาษาอังกฤษ Marigold


หากกล่าวถึง “บุปผาราชินี” ก็จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ

          1. ชื่อพรรณไม้ที่ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้พระนามาภิไธยเป็นชื่อพรรณไม้ ซึ่งได้แก่ “ต้นโมกราชินี” อยู่ในสกุลโมกมัน ลักษณะเป็นช่อดอกสีขาวหรือขาวปนเขียวอ่อน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ถูกค้นพบโดย ศาตราจารย์ ดร.ธวัชชัย สันติสุข บริเวณภูเขาหินปูน จ.สระบุรี และกรมป่าไม้ ได้ขอพระราชทานพระราชานุญาต ใช้ชื่อพรรณไม้นี้ตามพระนามาภิไธยของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เมื่อปี พ.ศ.2544 และ “ต้นมหาพรหมราชินี” ที่ถูกค้นพบโดย ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ลักษณะเป็นดอกเดี่ยวส่งกลิ่นหอม กลีบชั้นนอกสีขาว กลีบชั้นในสีม่วงแดง มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณยอดเขาสูง ในเขต อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้พระนามาภิไธย เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม 2547
          2. ประเภทที่สองคือ ชื่อพันธุ์ดอกไม้ที่มีชื่อตามพระนามสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้แก่ “ดอกกล้วยไม้แคทลียา ควีนสิริกิติ์” เป็นกล้วยไม้ที่อยู่ในสกุลแคทลียาสีขาว กลางดอกสีเหลือง ถูกผสมขึ้นโดยบริษัทกล้วยไม้ของประเทศอังกฤษ และได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากราชสมาคมไม้ประดับแห่งอังกฤษ นอกจากนี้แล้ว สมเด็จพระนางเจ้าฯ ยังได้พระราชทาน แคทลียาควีนสิริกิติ์ เป็นดอกไม้ประจำวันสตรีไทยอีกด้วย
          3. ส่วนประเภทที่ 3 คือ ดอกไม้ที่ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีทั้งหมด 6 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ไม้ที่เกิดขึ้นในทุ่งหญ้า หรือป่าเขาตามธรรมชาติ บางชนิดเป็นพันธุ์ไม้ประจำท้องถิ่นที่หายาก เมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นคราวที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร โดยนามของดอกไม้ที่ทรงพระราชทานนั้น จะสะท้อนความหมายถึงความสวยงาม และลักษณะที่โดดเด่นของดอกไม้แต่ละชนิด ดังนี้“ดุสิตา” (หญ้าข้าวก่ำน้อย) ไม้ล้มลุกกินแมลง ดอกสีม่วงเข้มออกเป็นช่อ “มณีเทวา” (กระดุมเงิน) ไม้ล้มลุกเป็นกอขนาดเล็กคล้ายหญ้า ดอกสีขาวออกเป็นช่อ “สร้อยสุวรรณา” (ดอกหญ้าสีทอง)ไม้ล้มลุกกินแมลง ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อ “ทิพเกสร” (หญ้าฝอยเล็ก) ไม้ล้มลุกกินแมลง ดอกสีม่วงอ่อนแกมชมพู “สรัสจันทร” (หญ้าหนวดเสือ) ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ดอกสีชมพูจนถึงม่วงอ่อนอมฟ้า ส่วนปลายมีสีเหลืองหรือสีครีม ทั้ง 5 ชนิดนี้ ทรงทอดพระเนตรเห็นบริเวณใกล้ๆ กับพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ และพระราชทานชื่อไว้เมื่อครั้งโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเยี่ยมราษฎรในภาคอีสานส่วน “นิมมานรดี” เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ออกดอกเป็นช่อ ก้านดอกมีขนนุ่มสีขาว กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว มีขีดตามยาว สีแดงเข้ม กลีบปากที่ปลายมีพื้นสีเหลืองเข้มและมีแต้มสีแดงเข้มที่โคนกลีบ ทรงพระราชทานชื่อไว้เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรพรรณไม้ที่บริเวณโคกนกกะบา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จ.เลย



ที่มา http://www.manager.co.th/

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559







          “สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน คำว่า STEM ถูกใช้
          สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ 
วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้
          การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ 5 ประการได้แก่ (1) เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ (2) ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ   
(3)เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 (4) ท้าทายความคิดของนักเรียนและ (5) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

"อย่าทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว...แต่จงเป็นแก้วที่พร้อมจะรับน้ำเสมอ"